May 3, 2025, 12:00 am
|
TEL/FAX: 074-685167
DTAC : 080-548-5142
TRUE : 095-504-3686

|
ขอบคุณที่มาเยี่ยม
กลุ่ม "บายใจ"
|

 ตรวจสอบสถานะ EMS และไปรษณีย์ลงทะเบียน
"บายใจ" อย่างแรง |
|

|
|
 |
ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับ “กระจูด”
“กระจูด” เป็นพืชตระกูลเดียวกับ “กก” (Sedge) คือ ในตระกูล Cyperaccae มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Lepironia artica late กระจูด เป็นวัชพืชที่เจริญเติบโตง่าย และแพร่พันธุ์ได้รวดเร็ว พบมากแถบภาคตะวันออก และภาคใต้ของประเทศไทย
ลำต้นของกระจูดมีลักษณะกลมกลวง มีข้อปล้องภายในคล้ายลำไผ่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1/8 – 5/16 นิ้ว ความสูงประมาณ 1 – 3 เมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเผ่าพันธุ์และสภาพแวดล้อม
ต้นกระจูด ชอบขึ้นในที่ ๆ มีน้ำขังอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะบริเวณริมทะเลสาบที่เป็นดินโคลน ซึ่งเรียกว่า “พรุ” หรือชาวพื้นเมืองทางภาคใต้เรียกว่า “โพระ” ต้นกระจูดที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติจะมีขนาดเล็ก และไม่ยาวนัก
การเพาะปลูกกระจูดต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 3 ปี ต้นจึงจะโตได้ขนาด สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ คือ ลำต้นยาวไม่ต่ำกว่า 1 เมตร เมื่อถอนต้นกระจูดไปแล้ว หน่อก็จะแตกต้นใหม่ขึ้นมาแทนที่หมุนเวียนกันไป
ต้นกระจูดมี 2 ชนิด คือ จูดใหญ่ และจูดหนู จูดใหญ่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้มาก ส่วนจูดหนูมีลำต้นเล็กและสั้น ความเหนียวน้อยกว่าจูดใหญ่ โดยทั่วไปราษฎรทางภาคใต้ใช้กระจูดในการสานเสื่อ ทำใบเรือ ทำเชือกผูดมัด และทำกระสอบบรรจุสินค้าเกษตรและสิ่งของอื่น ๆ กรรมวิธีสานเสื่อจูดนั้นจะแตกต่างจากการสานเสื่อทั่วไป คือ ชาวบ้านจะนำต้นกระจูดมาคลุกดินขาวก่อนตากแดดให้แห้งแล้วจึงทุบต้นกระจูดให้แบนเพื่อให้มีความนิ่มตัวสำหรับ หากต้องการให้มีสีสันก็นำไปย้อมสีก่อนนำมาสาน
แหล่งวัตถุดิบ
ในจังหวัด แหล่งผลิตกระจูดในจังหวัดพัทลุง มีเพียงแห่งเดียว คือ ที่หมู่บ้านทะเลน้อย ตำบลพนางตุง และตำบลทะเลน้อย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง เนื่องจากพื้นที่ดินมีลักษณะเป็นที่ลุ่ม อยู่ริมทะเลสาบ มีน้ำขังตลอดทั้งปี มีทั้งกระจูดที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และที่ราษฎรปลูกรวมพื้นที่เพาะปลูกกระจูดในบริเวณดังกล่าว ประมาณ 1,000 ไร่เศษ ราษฎรแถบนี้ส่วนใหญ่ คือ ประมาณร้อยละ 80 – 90 ของครัวเรือนทั้งหมด ประกอบอาชีพหลักในการทำผลิตภัณฑ์จากกระจูด ฉะนั้น แต่ละครัวเรือนมักจะมีไร่กระจูดเป็นของตนเองด้วย โดยเฉลี่ยประมาณครัวเรือนละ 3 – 10 ไร่
เดิม “กระจูด ของจังหวัดพัทลุงถูกส่งออกไปขายต่างจังหวัดในรูป “วัตถุดิบ” อยู่เสมอ แต่เนื่องจากปัจจุบันการทำผลิตภัณฑ์จากกระจูดในจังหวัดมีการขยายตัวมาก จนปริมาณวัตถุดิบที่ผลิตได้ในจังหวัดไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ ต้องสั่งซื้อจากแหล่งผลิตจังหวัดที่อื่นอยู่เสมอ ซึ่งแหล่งผลิตต่างจังหวัดที่สำคัญ คือที่ตำบลเคร็ง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช
นำมาจาก
culture.nstru.ac.th/~culturedb/culture.php?cultureCode=1103&cultureTitleT=การจักสาน...
http://www.phatlung.com/product/kajud.php
|