หน้าประกาศ N.A. ลง www.jpg


05/05/2014 13:11:28

OZONE for Cooling Water System (โอโซนเทคโนโลยีในระบบน้ำระบายความร้อน)

OZONE for Cooling Water System

โอโซนเทคโนโลยีในระบบน้ำระบายความร้อน

ป้องกันตะกรันและตะไคร่น้ำ

Ozone 1.JPG

....................................... 

โอโซนคคืออะไร

มีหลักการในการแก้ปัญหาอย่างไร

และมีความคุ้มในการลงทุนเพียงใด

เนื่องจากระบบน้ำระบายความร้อนจะประสบปัญหาหลายประการเช่นปัญหาตะกรันที่คอนเดนเซอร์หรืออุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน (Heat exchanger) ปัญหาตะไคร่น้ำที่หอระบายความร้อน (Cooling Tower) อีกทั้งปัญหาการกัดกร่อนในระบบและอื่น ๆ โดยเฉพาะปัญหาตะกรันที่ทำให้ประสิทธิภาพการระบายความร้อนลดลง ถ้าเป็นเครื่องเย็นจะกินไฟเพิ่มขึ้นอย่างมาก ดังนั้นปกติโรงงานจึงพยายามลดปัญหาดังกล่าวด้วยการใช้เครื่องทำน้ำอ่อนและสารเคมีบำบัดปัญหา ซึ่งส่วนใหญ่ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ บางครั้งนอกจากจะแก้ปัญหาไม่ได้แล้ว ยังต้องเสียค่าเคมีทุกเดือนจึงเป็นการเสีย 2 ต่อโดยที่ไม่จบสิ้นนั่นเอง

โอโซน เป็นแก๊สที่ถูกสร้างขึ้นจากอ๊อกซิเจน ด้วยหลักการใช้แสงยูวีหรือสสนามไฟฟ้าแรงสูงที่เรียกว่า “โคโรน่าดิสชาร์จ” เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจึงสามารถใช้อ๊อกซิเจนที่มีอยู่ทั่วไปในอากาศ มาเป็นวัตถุดิบในการผลิตโอโซน จึงไม่ต้องซื้อหาวัตถุดิบหรือเก็บสต๊อกสารเคมีอีกต่อไป 

แก๊สโอโซนที่ผลิตขึ้นด้วยระบบ “โคโรน่าดิสชาร์จ” จะมีความเข้มข้นสูงกว่าระบบแสงยูวี ถึง 100 เท่า โดยระบบแสงยูวีจะผลิตความเข้มข้นประมาณ 0.01 - 0.1 % โดยน้ำหนัก (100 ppm – 1,000 ppm) ถ้าเป็นระบบโคโรน่าดิสชาร์จจะประมาณ 1 – 3 % โดยน้ำหนักเมื่ออากาศแห้ง แต่ถ้าใช้อ๊อกซิเจนบริสุทธิ์จะสามารถทำความเข้มข้นได้ถึง 10% โดยน้ำหนัก (10,000 ppm – 100,000 ppm) ประโยชน์ของความเข้มข้นสูงคือ สามารถละลายน้ำได้มากกว่า จึงมีประสิทธิภาพในการใช้งานได้สูงกว่า

Ozone 4.JPG

Ozone 3.JPG

คุณสมบัติของโอโซน

แก๊สโอโซนจะมีกลิ่นคล้าย ๆ กลิ่นหลังฝนตกใหม่และมีกลิ่นฉุนที่ความเข้มข้นสูง มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อโรคได้ทุกชนิด ทั้งในน้ำและในอากาศ สามารถทำปฏิกริยากับสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ได้ดี และสามารถสลายตัวได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและความชื้น เมื่อสลายตัวจะกลายเป็นอ๊อกซิเจนจึงไม่ทิ้งสารตกค้าง มีความปลอดภัยสูงเมื่อเทียบกับสารเคมีอื่น ๆ เช่นคลอรีน

การใช้เครื่องป้องกันตะกรัน ด้วยโอโซนเทคโนโลยีในระบบน้ำระบายความร้อน

Ozone 2.JPG

โอโซนทำงานอย่างไรในระบบน้ำระบายความร้อน

โอโซนเป็นสารอ๊อกซิไดซ์ ที่มีความรุนแรงสูงกว่าคลอรีน โบรมีน และอื่น ๆ ดังนั้นจึงทำงานใน 2 ลักษณะดังนี้คือ

  1. การทำปฏิกริยาโดยตรง คือโอโซนจะทำลายผนังเซลล์ของแบคทีเรีย และทำลายห่วงโซอาหารของกลุ่มที่สร้างสปอร์ ดังนั้นตะไคร่น้ำจะไม่สามารถเกิดใน Cooling ได้ และทำปฏิกริยากับสารในกลุ่มเกลือแคลเซี่ยมได้ ทำให้ไม่สามารถตกผลึกได้
  2. การทำปฏิกริยาโดยอ้อม คือโอโซนจะไปเปลี่ยนโครงสร้างทางเคมีของสารบางชนิด แล้วกลายเป็นสารไบโอไซด์ (Biocide) ที่เป็นประโยนช์ในระบบ Cooling เช่น ถ้าในน้ำมีโบรไมด์ เมื่อทำปฏิกริยากับโอโซนจะได้สารแอ๊กทีพโบรมีน หรือทำปฏิกริยากับน้ำก็จะกลายเป็นสารกลุ่มไฮดรอกซิล (OH)(Hydroxyl free radical) ซึ่งทำปฏิกริยารุนแรงกับสารอินทรีย์เกือบทุกชนิดในน้ำ

ความคุ้มค่าในการใช้งาน

ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศ วิวัฒนาการไปมากมีการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีกัน จึงเกิดการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีกันอย่างมากมาย ดังนั้นโอโซนจึงถูกนำมาใช้ได้อย่างง่ายดาย ทำให้ต้นทุนในการผลิตต่ำราคาปัจจุบันจึงถูกกว่าสมัยก่อน ๆ มาก สำหรับระบบน้ำ Cooling จะมีจุดคุ้มทุนอยู่ประมาณ 1-2 ปี และที่สำคัญคือเป็นการแก้ไขปัญหาได้จริง ๆ ที่พิสูจน์ได้ ซึ่งแตกต่างจากสารเคมีอื่น ๆ อย่างสิ้นเชิง

     ความสัมพันธ์ระหว่างความหนาของตะกรัน และอัตราถ่ายเทความร้อนที่ลดลง

Ozone ความสัมพันธ์ระหว่างความหนาของตะกรัน และอัตราถ่ายเทความร้อนที่ลดลง.JPG

ค่าการประหยัดการใช้พลังงานไฟฟ้า

Ozone ค่าการประหยัดการใช้พลังงานไฟฟ้า.JPG

  1. ค่าไฟฟ้าที่เกิดจากการที่มอรเตอร์ของคอมเพรสเซอร์จากความดันที่เพิ่มขึ้นในระบบ หมายเหตุ : กรณีอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นจาก 89 °F เป็น 110 °F หรือลดลงจาก 110 °F เป็น 89 °F จะทำให้ประสิทธิภาพของคอมเพรสเซอร์เปลี่ยนแปลง 6 - 10%
  2. ค่าซ่อมบำรุงอันเนื่องจากการกัดกร่อน
  3. ค่าล้างตะไคร่ และล้างตะกรัน ราย 6 เดือน หรือ 12 เดือน 

ปัญหาของระบบทำความเย็น

ปัญหาของระบบทำความเย็นใน Cooling Tower ในการระบายความร้อนโดยใช้น้ำ ซึ่งมีใช้อย่างแพร่หลายทั้งในระบบปรับอากาศตามอาคารตึกสูง หรือในงานอุตสาหกรรม เช่น ระบบน้ำหล่อเย็นในโรงงานฉีดพลาสติก โรงงานผลิตน้ำแข็ง ห้องเย็น โรงงานปิโตรเคมี โรงไฟฟ้า เป็นต้น ล้วนแล้วแต่มีปัญหาเดียวกันคือ ปัญหาเรื่องตะกรันในท่อคอนเดนเซอร์หรือในท่อ Heat Exchanger ตะกรันในท่อคอนเดนเซอร์ คือ กลุ่มหินปูนที่เกาะอยู่ตามท่อระบายความร้อนในคอนเดนเซอร์ของเครื่องทำความเย็น

ซึ่งมีผลทำให้ประสิทธิภาพในการถ่ายเทความร้อนในท่อคอนเดนเซอร์ลดลง ส่งผลให้ความดันในระบบน้ำยาเพิ่มขึ้นจึงทำให้สิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้น แก๊สโอโซนที่ถูกเติมลงไปในน้ำหล่อเย็นในหอผึ่งเย็น Cooling Tower จะไปทำปฏิกริยากับสารอินทรีย์ต่าง ๆ ในน้ำ รวมทั้งทำลายตะไคร่น้ำ ทำให้ระบบคูลลิ่งสะอาดปราศจากตะกรัน ตะไคร่น้ำ และเชื้อโรค นอกจากนี้ยังทำให้ความเข้มข้นของสารละลายในน้ำลดลงจึงสามารถประหยัดน้ำได้อีกด้วย และที่สำคัญเมื่อใช้ระบบโอโซนแล้วไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีบำบัดน้ำ จึงเป็นการลดค่าใช้จ่ายเรื่องสารเคมี และยังเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

ที่มาของปัญหา

เครื่องทำความเย็นและปรับอากาศหรือเครื่องจักรที่ทำงานทางเทอร์โมไดนามิคส์ ที่ใช้น้ำระบายความร้อนออกจากคอนเดนเซอร์หรือฮีทเอ็กซ์เซนเจอร์หรือออยคูลเลอร์ น้ำหล่อเย็นจะถูกสูบและส่งให้ไหลกลับไปกลับมาโดยน้ำเย็นในถาดคูลลิ่งทาวเวอร์ ถูกสูบและส่งไปลดความร้อนของน้ำยาหรือน้ำมันที่ร้อนที่คอนเดนเซอร์หรือออยคูลเลอร์ และน้ำจะนำความร้อนออกจากสารทำความเย็นหรือน้ำมันทำให้น้ำร้อนขึ้นและถูกส่งไปคายความร้อนออกที่หอผึ่งเย็นหรือคูลลิ่งทาวเวอร์โดยใช้พัดลมพาอากาศออกจากน้ำที่ถูกฉีดพ่นที่หอผึ่งเย็น ดังนั้นน้ำจึงระเหยออกไปและตามปกติอัตราการระเหยจะประมาณ 1% ของน้ำ ที่หมุนเวียนในระบบ และน้ำจะถูกเติมเข้ามาใหม่อย่างต่อเนื่อง ทำให้น้ำมีสารละลาย TDS เพิ่มสูงขึ้นและค่า pH ของน้ำจะสูงขึ้น ปกติการใช้งานระบบหอผึ่งเย็นจะควบคุมค่า pH และ TDS อยู่ในช่วง 5-10 เท่าของความเข้มข้นของสารละลายของน้ำที่ใช้เติม โดยจะมีการปล่อยน้ำทิ้งออกเป็นช่วง ๆ เพื่อลดความเข้มข้นของน้ำ และค่า pH ไม่เกิน 9 และ TDS ประมาณ 1,000-1,500 ppm (มิลลิกรัม/ลิตร)

ปัญหาของตะกรัน

ตะกรัน คือ กลุ่มหินปูนหรือสารละลายที่เป็นของแข็งละลายในน้ำ เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม อลูมินั่ม เหล็กและซิลิก้า ฯลฯ ที่มีความเข้มข้นสูงขึ้นในสภาวะที่มีปัจจัย เช่น ค่า pH และค่าอัลคาไลน์สูง เกลือแร่เหล่านี้จะตกผลึกอยู่บริเวณพื้นผิวถ่ายเทความร้อน เช่น ในท่อคอนเดนเซอร์หรือฮีทเอ็กซ์เซนเจอร์ ลดประสิทธิภาพการทำความเย็น ทำให้อุณหภูมิในความดันของน้ำยาสูงขึ้น มอเตอร์คอมเพรสเซอร์จะกินไฟมากขึ้นกว่าปกติและอาจสูงถึง 20% ปกติตะกรันหนา 1 มิลลิเมตรจะสูญเสียประมาณ 10%

ปัญหารการกัดกร่อน

ปกติการกัดกร่อนมักจะเกิดมากขึ้น เมื่อน้ำมีความกร่อยมากขึ้นและจะกัดกร่อนมากกว่าปกติ หากน้ำที่ใช้เติมเป็นน้ำกร่อยหรือน้ำที่มีคลอไรด์สูงตั้งแต่ 100 ppm หากผ่านกระบวนการทำน้ำอ่อนจะยิ่งทวีความรุนแรงมากกว่าปกติ

 

ปัญหาตะกรันและการกัดกร่อน

Ozone ปัญหาตะกรันและการกัดกร่อน.JPG 

          ปัญหาตะไคร่น้ำ

        ตะไคร่ที่มีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นระบบหอผึ่งเย็น บางกรณีอาจก่อให้เกิดปัญหาการอุดตันในท่อน้ำในคอนเดนเซอร์ได้ นอกจากนี้ตะไคร่น้ำทำให้เกิดปัญหาสกปรกและปัญหาไบโอฟิลม์ภายในท่อ 

Ozone ปัญหารของตะไคร่น้ำและเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ.JPG

            ปัญหาของเชื้อโรคลีจิโอเนลลา

            เป็นเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคลิจิแนร์ เป็นโรคติดต่อทางลมหายใจ กลุ่มเสี่ยงได้แก่ เด็ก ผู้ป่วย คนชรา ผู้ที่อยู่ในการดูแลรักษาโรคมะเร็ง เบาหวาน ไต อาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ปวดกล้ามเนื้อ ข้อต่อ อ่อนเพลียและเบื่ออาหาร อาการอาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต 

Ozone เชื้อโรคลิจิโอเนลลา Legionella.JPG

ข้อดีของการใช้เครื่องป้องกันตะกรันด้วยเทคโนโลยีโอโซน

  1. ลดการใช้สารเคมีระบบโดยสิ้นเชิง
  2. ลดการใช้ Softener เพื่อทำน้ำอ่อน
  3. ลดอัตราค่าน้ำและค่าไฟในระบบได้เป็นอย่างดี
  4. ลดการ Blow-Down ของน้ำได้มากกว่า 50%
  5. ลดความเสียหายของระบบซึ่งเกิดจากการใช้กรดล้างตะกรัน
  6. ลดการสูญเสียในกรณีหยุดเครื่องเพื่อทำความสะอาด
  7. ทำลายและป้องกันการเกิดเชื้อโรคลิจิโอเนลลาในหอผึ่งเย็นซึ่งเกิดจากตะไคร่น้ำ
  8. ลดค่าใช้จ่ายของการซ่อมบำรุงระบบ Heat Exchange อันเนื่องมาจากตะกรัน
  9. ประหยัดเวลาในการดูแลและทำความสะอาดระบบเนื่องจากเป็นระบบอัตโนมัติ
  10. สามารถแก้ปัญหาตะกรันและตะไคร่น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  11. ทำให้บริษัทมีภาพลักษณ์ที่ดีในการตรวจสอบมาตรฐาน เช่น ระบบ ISO
  12. หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการบำบัดก็จะได้ก๊าซ O2 คืนสู่ธรรมชาติเหมือนเดิมโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

 

ข่าวสาร

05/05/2014 13:11:28
OZONE for Cooling Water System (โอโซนเทคโนโลยีในระบบน้ำระบายความร้อน)

22/07/2014 18:16:24
มีสารฟอร์มาลีนอยู่ในอาหาร จริงหรือ !

 

สถิติ


เปิดร้านเมื่อ 15/04/2014

ปรับปรุงร้านล่าสุด 27/05/2018

จำนวนสินค้า 42

ผู้เข้าชมทั้งหมด



Your IP : 18.227.114.125
ชื่อใช้งาน:
รห้สผ่าน:
 ร้านค้า     ลูกค้า
ลืมรหัสผ่าน?

**การที่เข้าระบบไม่ได้**
ต้องใช้ Mozilla Firefox จะล็อคอินได้
ถ้าต้องการใช้ Internet Explorer

แก้ได้โดย
1.คลิ๊กที่ Tools เลือก Internet Options
2. เลือก tab Privacy -> Advanced
3. ติ๊กในช่อง Override automatic cookie handling
ปิดแล้วเปิด IE ใหม่ แล้วใช้ได้
 


ข้อมูลการจัดส่งสินค้า

ตรวจสอบสถานะ EMS 
	และไปรษณีย์ลงทะเบียน
ตรวจสอบสถานะ EMS
และไปรษณีย์ลงทะเบียน



utility

จัดเก็บเว็บนี้
จัดเก็บหน้านี้
ตั้งเว็บนี้ให้เป็นหน้าแรก
แนะนำบอกต่อเพื่อน
แจ้งการชำระเงิน
เครื่องคิดเลข
                        
  
คลิ๊กที่ดาวเพื่อให้คะแนนร้านค้านี้
  • คะแนนโหวต 0.3 /5 ดาว
  • 1
  • 2
  • 3
  • 4
  • 5
คะแนนโหวต : 0.3 / 5 ดาว (25 โหวต)


ผู้สนับสนุน

 


เพื่อนบ้าน

  หน้าแรก   |   เกี่ยวกับเรา   |   สินค้าและบริการ   |   วิธีชำระเงิน   |   ติดต่อเรา   |   เว็บบอร์ด   |   เพื่อนบ้าน  
Power by http://www.thaishop.in.th ฟรีร้านค้าออนไลน์