12/12/2015 05:23:48
ไนอะซิน (niacin) คืออะไร
วิตามินบีสาม(Vitamin B3 ) หรือ ไนอะซิน (niacin) หรือ นิโคตินาไมด์ (nicotinamide) เป็นวิตามิน ที่ละลายในน้ำได้ โครงสร้างทางเคมีของไนอาซิน ใกล้เคียงกับกรดแอมิโนทริพโตเฟน (tryptophan) ซึ่งเป็นกรดแอมิโนที่มากพบในไข่ เนื้อวัว และสัตว์ปีก ร่างกายสังเคราะห์ไนอะซินได้จากกรดแอมิโนทริพโตเฟนโ ดยทริพโตเฟน 60 มิลลิกรัม จะเปลี่ยนเป็น ไนอะซินได้ 1 มิลลิกรัม ร่างกายคนเราได้รับไนอะซินครึ่งหนึ่งของปริมาณที่ร่างกายต้องการจากการเปลี่ยนส่วนประกอบ ทางเคมีของทริพโตเฟน ส่วนอีกครึ่งที่เหลือได้รับจากการบริโภคอาหาร

ประโยชน์ของไนอะซิน
- มีส่วนร่วมในการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน
- ช่วยควบคุมการทำงานของสมองและระบบประสาท
- ช่วยรักษาสุขภาพของผิวหนัง ลิ้น และเนื้อเยื่อของระบบย่อยอาหาร
- จำเป็นสำหรับการสังเคราะห์ฮอร์โมนเพศ
- ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล
ภาวะการขาด
- การขาดไนอะซินจะทำให้เกิดโรคเพลลากรา (pellagra) จะมีอาการเกี่ยวกับทางเดินอาหาร ผิวหนัง และระบบประสาท
- อาการเกี่ยวกับทางเดินอาหาร คือ ปากและลิ้นอักเสบ แสบร้อนในคอ เบื่ออาหาร ท้องอืดแน่นท้อง อาหารไม่ย่อย คลื่นไส้
อาเจียน หรือท้องเดิน
- อาการทางผิวหนัง คือผิวหนังอักเสบแบบเดียวกันทั้งสองด้านของร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณที่ถูกแสงแดด ความร้อน
เช่น ที่มือ แขน หน้า ลำคอ และเท้า ตอนแรกจะเป็นผื่นแดงคล้ายถูกแดดเผา ถ้าไม่รีบรักษาจะทำให้ผิวหนังอักเสบมากขึ้น มักจะมีการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย ในรายที่เป็นเรื้อรังผิวจะหนา เป็นร่อง มีสีเข้มขึ้น แห้งแตกเป็นเกล็ด ลอก และมีสะเก็ด เป็นบริเวณกว้าง
- อาการทางระบบประสาท จะมีอาการปวด มึนศีรษะ หงุดหงิด นอนไม่หลับ กังวล ซึมเศร้า ความจำเสื่อมและสับสน มีอาการ
แบบประสาทหลอน หากเป็นมากอาจวิกลจริต หรือมีความพิการทางสมอง
แหล่งของไนอะซินในอาหาร
ไนอะซินพบมากในอาหารที่มีโปรตีนสูง ได้แก่
ปริมาณที่แนะนำ
นิยมใช้คำว่า "niacin equivalent" ซึ่งรวมถึงปริมาณไนอะซินที่บริโภคในอาหาร และที่ร่างกายสังเคราะห์ได้ ปริมาณ ที่แนะนำให้บริโภคในแต่ละวัน คือ 6-19 มิลลิกรัม แตกต่างกันไปตามอายุ เพศ และปัจจัยอื่นๆ บางกรณีที่ร่างกายจะ ต้องการไนอะซินเพิ่มขึ้น เช่น การเจ็บป่วย ความเครียด เด็กในระยะกำลังเจริญเติบโต ผู้สูงอายุ สตรีตั้งครรภ์ สตรีให้นมบุตร เป็นต้น
ผลของการแปรรูปอาหารต่อไนอะซิน
Vitamin B3 หรือไนอะซินมีความทนทานต่อความร้อน แสงสว่าง กรด ด่าง ได้ดีกว่า Vitamin B1 และ Vitamin B2
References
เรียบเรียงโดย:
|